ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่
21
ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่
21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21
เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่
21 ส่งผลต่อวิถีการดำรง
ชีพของสังคมอย่างทั่วถึง
ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความ
พร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่
21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษ
ที่
20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ ( Learning Skill)
ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่
21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ
และทักษะจำเป็น
ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจน
การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st
Century Skills) วิจารณ์ พานิช ( 2555: 16-21) ได้กล่าวถึง
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่
21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ
แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑
ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา
( content หรือ subject
matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้า
เองของศิษย์
โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถ
ประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก
( Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้
ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ
( Interdisciplinary)
หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจ
ในเนื้อหาวิชาแกนหลัก
และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่
21
ความรู้เกี่ยวกับโลก ( Global
Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
และการเป็นผู้ประกอบการ ( Financial, Economics,
Business
and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ( Civic
Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ ( Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ( Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงาน
ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน
ทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมี
วิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย
โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต ( Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้
( Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
( Responsibility)
ทักษะของคนในศตวรรษที่
21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
3R คือ Reading (อ่านออก) ,
(W)Riting (เขียนได้) , และ ( A)Rithemetics
(คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์
และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม
ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career
and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้
โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ
ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน
เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ ( Model)
ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า
เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน
ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต
ภาพ กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century
Learning Framework) (http://www.qlf.or.th/)
กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
(Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
( Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก ( Core
Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน
รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน
หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่
21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา ” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”
(21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้
แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้
ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช ( Coach) และอำนวยความสะดวก ( Facilitator)
ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ
ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ( Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
http://www.srn2.go.th/attachments/article/145/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1.pdf
การพัฒนาทักษะที่ 21
การปฏิรูปการศึกษาที่ประเทศไทยทำกันอยู่ “ผิดหมดเลย ” เพราะมัวแต่ไปปฏิรูปกันที่โครงสร้างกระทรวงฯ
โรงเรียน หลักสูตร หรือการสอบวัดผล
เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยภายใต้กระบวนทัศน์เก่าและแตะเรื่องเดิมๆ
ประเทศไทยต้องการกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิรูปการศึกษาอย่างถอนรากถอนโคน
กระบวนทัศน์ใหม่คือการศึกษาจะไม่มุ่งเน้นการมอบความรู้( knowledge)ให้แก่เด็ก
แต่มุ่งเน้นการมอบทักษะ( skill)ให้แก่เด็กแทน
เด็กไทยควรได้รับการพัฒนาทักษะ 3 ข้อ คือ
1.ทักษะการเรียนรู้( learning
skill) หมายความว่าเด็กใฝ่เรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้จากทุกสถานที่และเวลา
2.ทักษะการใช้ชีวิต( life
skill) หมายความว่าเด็กรู้จักใช้ชีวิตที่มีจุดมุ่งหมาย
ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง
3.ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ( IT
skill) หมายความว่าเด็กรู้จักเสพและใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างรู้เท่าทัน
ทักษะทั้งสามประการรวมเรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21(21st century skill)
ทักษะการเรียนรู้ประกอบด้วย การคิดเชิงวิพากษ์
การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการสร้างนวัตกรรม
ทักษะชีวิตประกอบด้วย รู้จุดหมายของชีวิต
มีแรงบันดาลใจและรู้จักวางแผน กล้าตัดสินใจและรับผิดชอบผลลัพธ์ของการตัดสินใจ
ทำงานมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ รู้จักประเมินตนเองและมีความยืดหยุ่น
ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
รู้ทันข้อมูลข่าวสารและรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่อย่างชาญฉลาด
การศึกษาไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์
เปลี่ยนจากการมุ่งมอบความรู้เป็นการพัฒนาทักษะทั้งสามประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการเรียนรู้
การเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้และกระบวนการหาคำตอบสำคัญกว่าคำตอบ
อันที่จริงทุกคนควรรู้เหตุผลดีอยู่แล้ว
ปริมาณความรู้ในโลกมีมากมายมหาศาลเกินกำลังที่ระบบการศึกษาใดๆจะชี้ได้ว่าอะไรควรรู้อะไรไม่ควรรู้
และมีมากเกินกำลังที่เด็กจะรู้ไปเสียทั้งหมด
ในทางตรงข้ามความรู้มากมายมีให้สืบค้นมากมายในอินเทอร์เน็ตและแหล่งเรียนรู้รอบตัว
ดังนั้นประเด็นที่สำคัญกว่าคือเด็กไทยควรใฝ่รู้และรู้วิธีที่จะเรียนรู้และหาคำตอบด้วยตนเอง
ทั้งนี้ยังไม่นับว่าในโลกที่ซับซ้อนไม่มีคำตอบหนึ่งเดียวสำหรับแต่ละคำถามหรือปัญหาอยู่ก่อนแล้ว
ส่วนเรื่องจะให้เรียนรู้อะไร คำตอบอยู่ที่ชุมชน
พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ชุมชนและครูที่พร้อมจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ควรรู้เท่าทันว่าการศึกษาที่เป็นอยู่มีแต่จะนำลูกหลานไปสู่ทางตัน
เด็กเรียนเก่งรู้มากแต่ใช้ชีวิตไม่เป็น
เด็กเรียนแพ้มีมากกว่าเด็กเรียนชนะแล้วก็ใช้ชีวิตเสี่ยง
เด็กถูกเทคโนโลยีสารสนเทศกระทำแทนที่จะเป็นฝ่ายเสพข้อมูลข่าวสารและใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด
พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และภาคธุรกิจซึ่งเป็น demand side ได้รับผลผลิตไปจากการศึกษาควรร่วมกันเรียกร้องรัฐให้มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างถอนรากถอนโคน
มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมดังนี้
1.เปลี่ยนครู จากผู้สอน( teacher)
ให้เป็นโค้ช( coach)และผู้นำกระบวนการเรียนรู้( facilitator)
2.เปลี่ยนห้องเรียน
จากห้องเรียนแบบ classroom เป็นพื้นที่การเรียนรู้ learning
studio ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ประชุม พื้นที่ปฏิบัติการ
พื้นที่เทคโนโลยีสารสนเทศ และพื้นที่สันทนาการ
3.เปลี่ยนโรงเรียน
จากที่เป็นศูนย์การสอน เป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้
4.เปลี่ยนการประชุมครู
จากที่ประชุมครูในรูปแบบเดิม เป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้คือ Professional
Learning Community(PLC) นั่นคือครูพบกันเพื่อประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนในทุกๆวัน
ด้วยกระบวนการ After Action Review(AAR)
5.เปลี่ยน หลักสูตร เป็น
การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำคือ Active Learning(AL) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปการเรียนรู้ผ่านโครงงานคือ
Project-Based Learning(PBL) หรือการเรียนรู้ผ่านปัญหาคือ Problem-Based
Learning(PBL) ก็ได้
ทั้งนี้โดยมีความเชื่อมโยงกับชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่
6.เปลี่ยนการสอบเพื่อประเมินได้ตก( examination)เป็นการประเมินนักเรียนเพื่อดูความก้าวหน้าของทักษะทั้งสามประการ( formative
assessment)เป็นรายบุคคลอย่างเป็นมิตรและเป็นจริง( friendly
and genuinely)
7.หลอมรวมกลุ่มสาระวิชาทั้งหมดแล้วแตกออกเป็นวิชาจำเป็นพื้นฐาน
3 วิชาคือ การอ่าน( reading) การเขียน( writing)
คณิตศาสตร์( arithmatics) และวิชาสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต
4 วิชา คือ สุขภาพ( Health literacy) เศรษฐศาสตร์( Economics
literacy) สิ่งแวดล้อม( Environment literacy) และความเป็นพลเมือง( Civil
education) โดยยึดหลักเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ
และฝึกทักษะการเรียนรู้มากกว่าการมอบความรู้
ผู้ปกครองควรรู้เท่าทันการศึกษาที่เป็นอยู่ก่อน
ปัจจุบันพ่อแม่
ผู้ปกครองจำนวนมากยังติดอยู่ที่กระบวนทัศน์เก่านั่นคือมุ่งหวังให้โรงเรียนสอนหนังสือมากๆและลูกของตนเป็นเด็กเก่ง
คาดหวังลูกของตนเองจะเป็นผู้ชนะในการศึกษาและมีฐานะทางสังคมที่ดีขึ้นหรือธำรงสถานะทางสังคมที่เป็นอยู่
นี่คือทัศนะที่มีความเสี่ยงสูง มีผู้สมหวังจำนวนน้อยมีผู้ผิดหวังมากกว่ามาก
ในอนาคตเด็กเรียนเก่งเพียงแค่มีความรู้มากแต่ไม่มีทักษะจะเอาตัวไม่รอด
ครูต้องยอมรับว่าบทบาทการสอนหนังสือที่เป็นอยู่เป็นบทบาทในกระบวนทัศน์เก่าซึ่งนอกจากไร้ผลแล้วยังมีแรงเสียดทานในการทำงานมากขึ้นทุกขณะ
ครูยังคงเป็นบุคคลสำคัญอันดับหนึ่งในการศึกษาตามกระบวนทัศน์ใหม่แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงาน
ผู้ใหญ่ในสังคมที่รับผิดชอบการประเมินคุณภาพโรงเรียนและการทดสอบต่างๆควรยอมรับว่าการทำงานในกระบวนทัศน์เก่าเป็นอันตรายต่อระบบและเป็นอันตรายต่อเด็กไทย
ควรศึกษากระบวนทัศน์ใหม่และเปลี่ยนแปลงวิธีประเมินคุณภาพโรงเรียนและวิธีการสอบระดับชาติในรูปแบบต่างๆ
เด็กไทยควรกล้าตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถาม
ใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา สามารถทำงานเป็นทีม
มีความคิดสร้างสรรค์ และมีนวัตกรรม ในขณะเดียวกันรู้จุดหมายของชีวิต
มีแรงบันดาลใจและรู้จักวางแผน กล้าตัดสินใจและรับผิดชอบผลลัพธ์ของการตัดสินใจ
ทำงานมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ รู้จักการประเมินตนเองและมีความยืดหยุ่น
นอกจากนี้คือรู้ทันข้อมูลข่าวสารและรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่อย่างชาญฉลาด
ทักษะแห่งอนาคตใหม่:
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
คือ อย่างไร ?
VIDEO
ศตวรรษที่ 21
สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ
19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่:
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย
บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์
องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ
รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
(Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า
เครือข่าย P21
หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่
21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ
ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
หรือ 3R และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ
ดังนี้
·
3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน) , การเขียน( Writing)
และ คณิตศาสตร์ ( Arithmetic) และ
·
4 C (Critical
Thinking - การคิดวิเคราะห์ , Communication- การสื่อสาร
Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ
และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร คลิกเพื่ออ่านต่อและดาวน์โหลดเอกสารที่นี่
นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น
คือเซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก
โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน
มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป
ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่
21 (Changing Education Paradigms) โดย เซอร์เคน โรบินสัน
กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า
วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
หรือชมวีดีทัศน์ "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่
21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช
อ้างอิงจาก : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
(สสค.)
การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Child and Family Development in the 21th
Century)
การพัฒนาเด็ก
เด็กในศตวรรษที่ 21 สำคัญอย่างไร ?
ภาพลักษณ์ของศตวรรษที่
21 (ค.ศ. 2001-ปัจจุบัน)
อาจถูกวาดออกมาให้ดูน่าสะพรึงกลัว และหลุดแยกออกไปจากศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างมาก เช่นมีการอธิบายว่า ศตวรรษที่ 21 นี้มีการขยายตัวทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสูงสุด
เรียกได้ว่าเป็นพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งทำให้โลกทั้งใบสามารถเชื่อมโยงกันได้
มีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารรวมถึงวิทยาการสมัยใหม่
ข้ามผ่านซีกโลกอย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันสั้น
ซึ่งนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒน ธรรม
และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ทำให้มนุษย์กลายเป็นฐานทรัพยากรหลักของโลก
เพราะพวกเขามีความรู้และสามารถเรียนรู้ได้ สามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้
สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ รวมไปถึงมีความคิดสร้างสรรค์
และทักษะอื่นๆบนพื้นฐานของจริยธรรมที่ดี
ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์และสังคมอยู่รอดอีกด้วย
จากความจำเป็นในการพัฒนาคนให้เข้ากับสังคมยุคใหม่นั้น
ทำให้มีการสรุปออกมาว่าสมรรถนะหรือทักษะอะไรที่มนุษย์ยุคใหม่จะต้องมี
ที่เรียกกันว่า 21st Century
skills หรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย
ทักษะ 4 ประการ คือ
การมีความรู้ในวิชาหลัก
ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงความรู้รอบตัวอื่นๆด้วย
การมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ
การมีทักษะการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมใหม่
ที่เกี่ยวข้องกับทักษะแห่งความร่วมมือ 4 ประการคือ
การสื่อสาร ( Communication)
ความร่วมมือกัน ( Collaboration)
ความคิดสร้างสรรค์ ( Creativity)
การคิดวิเคราะห์ ( Critical Thinking)
การมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
แม้ว่าจะมีทักษะที่จำเป็นเพียง
4 ประการ แต่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นทักษะที่ต้องได้รับการพัฒนาในระยะยาว
ซึ่งแปลว่าจะต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้
และเมื่อมีการวิเคราะห์สภาพการศึกษาในขณะนี้พบว่าหลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทย
หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ยังไม่สามารถทำให้เด็กมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถอยู่รอดในสังคม
และมีชีวิตที่มีคุณภาพได้เมื่อโตขึ้น
นี่จึงเป็นโจทย์ปัญหาใหญ่ที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในเวลานี้
ทำให้มีงานวิจัยหลายชิ้น พยายามค้นหาและตอบคำถามที่ว่า
ทำไมหลักสูตรปัจจุบันจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้
ผลการวิจัยที่ศึกษาตัวแปรที่แตกต่างกันไป
สามารถสรุปปัญหาของการศึกษาปฐมวัยของไทยที่น่าสนใจ สรุปสาระ สำคัญได้เป็น 3 ประเด็นหลักๆได้ดังนี้
เด็กมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่าระดับสากล แต่กลับมีระดับความเครียดสูงมาก
ทั้งๆที่มีการเรียนการสอนด้านวิชาการตั้งแต่ระดับอนุบาล
ซึ่งน่าจะทำให้เด็กมีไอคิวสูงกว่าหลายๆประเทศที่เริ่มเรียนด้านวิชาการในระดับประถม
เด็กขาด M.Q. (Moral Quotient) หรือความมีคุณธรรมจริยธรรมในจิตสำนึก
และยังขาด A.Q. (Adversity Quotient) หรือความสามารถในการอดทนฝ่าฟันอุปสรรค
ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก
เด็กขาดทักษะในการดำรงชีวิต
ซึ่งทำให้เด็กหลายคนมีปัญหาในการเข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
รวมไปถึงการที่เด็กไม่สามารถดูแลตนเองได้ และมีทักษะไม่มากพอที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง
ปัญหาการพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่
21 มีลักษณะอย่างไร ?
ได้มีการวิเคราะห์ปัญหาออกมาแล้วว่า
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
ไม่สามารถทำให้เด็กไทยมีทักษะหรือคุณสมบัติมากพอที่จะดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพอยู่ในศตวรรษที่
21 ใน 3 ประเด็นข้างต้นได้
ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่สำหรับผู้ใหญ่นั้นภาพปัญหานี้อาจยังไม่ชัดเจนมากนัก
เพราะผลของมันจะเกิดขึ้นในระยะยาวเมื่อเด็กโตขึ้น หรือเรียนในระดับที่สูงขึ้น
และต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเอง
ด้วยเหตุนี้คนส่วนหนึ่งจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาช่วงปฐม วัยมากนัก
เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคต ปัญหาที่ปรากฏให้เห็นและกำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
คือ เด็กเรียนวิชาการมากขึ้นแต่ไอคิวต่ำลง
มีอาการป่วยเป็นโรคเครียดตั้งแต่อายุยังน้อยเพิ่มขึ้น
มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนมากขึ้น มีผู้ใหญ่ที่คนตกงานมากขึ้น ฯลฯ
ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่หากมองให้ลึกลงไป
กลับเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงมาจากพื้นฐานการพัฒนาที่ยาว นานมาตั้งแต่อดีต
ปัญหาการพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่
21 มีสาเหตุมาจากอะไร ?
เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการพัฒนาเด็กและครอบครัวสามารถสรุปได้
3 ประการคือ
ความเชื่อและค่านิยมที่ผิดของผู้ปกครอง
สาเหตุหลักสำคัญประการแรกที่เป็นส่วนทำให้เกิดปัญหาตามมา
ที่กล่าวว่าความเชื่อและค่านิยมที่ผิดนั้นก็เพราะ
ในประเทศไทยผู้ใหญ่มีความเชื่อว่าคนที่มีความรู้มากคือคนเก่ง และจะมีอนาคตที่ดี
มีหน้าที่การงานที่ดี
ซึ่งสิ่งที่จะวัดการมีความรู้ทางวิชาการหรือความเก่งได้นั้นก็คือคะแนน
ดังนั้นผู้ปกครองจึงมุ่งเน้นให้เด็กเร่งเรียน
และให้ความสำคัญกับการสอบและการแข่งขันสูงมาก
เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีความเก่งมากเพียงพอ ที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคม
ซึ่งสาเหตุนี้นำไปสู่สาเหตุของปัญหาตามมาอีกมาหลายประการ
การเน้นการเรียนการสอนทางวิชาการในระดับปฐมวัย
คือผลของความเชื่อที่ผิดของผู้ปกครอง ที่เห็นว่าความรู้ทางวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ
ดังนั้นการแข่งขันทางการศึกษาจึงมีมากขึ้น
โดยเด็กเล็กตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจะต้องเริ่มเรียนวิชาการเพื่อให้สามารถสอบเข้าชั้นประถมในโรงเรียนชั้นนำได้
ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องอ่านออก เขียนได้ นับเลขเป็น และสำ หรับบางทีอาจถึงขั้นบวกลบเลขได้ตั้งแต่ในระดับชั้นปฐมวัย
แต่นั่นกลับสร้างความเครียดและความกดดันให้เด็กมากขึ้น
ทำให้เด็กหลายๆคนรู้สึกไม่ชอบ เบื่อการเรียน และไม่มีความสุขกับการเรียนเพื่อสอบ
ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้การศึกษาเป็นเรื่องของการลงทุน ที่ผู้ปกครองจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากขึ้นในการศึกษาของลูก
ทั้งกับการเรียนพิเศษ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์การเรียนที่ใช้มากขึ้น
ซึ่งอาจเป็น คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม
เพื่อช่วยในการเรียนของเด็ก
การปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กตามวัยที่เหมาะสม เมื่อการศึกษาในระดับปฐมวัยเน้นแต่ด้านวิชาการทำให้ระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนั้นทำให้เด็กมีโอกาสในการเล่น
รวมถึงการเรียนทักษะต่างๆที่ควรฝึกในช่วงปฐมวัยลดลง เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ
การปลูกฝังมารยาทและจิตสำนึก หรือแม้แต่การฝึกการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆในวัยเดียวกัน
จากการวิจัยพบว่า
เมื่อเด็กๆเริ่มเรียนวิชาการตั้งแต่ในระดับปฐมวัยในปริมาณที่มากเกินไป
ทำให้เกิดการปิดกั้นการพัฒนาสมองของเด็กในด้านอื่นๆ เช่น
ความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหา
เพราะในความจริงแล้วเด็กปฐมวัยต้องการการฝึกฝนทักษะทางการสังเกต และการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
5 ที่เกิดจากการได้เล่น ได้เรียนรู้ ทดลอง
และลงมือทำด้วยตนเอง ที่จะเป็นการเพิ่มความสามารถของพวกเขา
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สมองให้พัฒนาได้อย่างเต็มความ สามารถ
ที่ทำให้เซลล์สมองสามารถแตกแขนงออกไปได้มาก เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาของช่วงต่อไปเมื่อโตขึ้น
แต่เมื่อเด็กไม่ได้รับการฝึกทักษะทางด้านนี้อย่างเต็มที่
แต่กลับถูกจำกัดให้เรียนแต่ด้านวิชาการ ทำให้มีแค่เซลล์สมองส่วนความ
จำเท่านั้นที่พัฒนา ในขณะที่เซลล์สมองอื่นๆของเด็กไม่แตกแขนง
และไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นอย่างเหมาะสมตามวัยและเมื่อเลยวัยนี้ไปแล้ว
ก็เป็นการยากที่จะกลับมาพัฒนาได้อีก
จากสาเหตุของปัญหาทั้ง
3 ประการดังกล่าว ทำให้เห็นว่า การที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองของศตวรรษที่
21 ได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้เวลานาน
โดยต้องอาศัยการทำความเข้าใจเพื่อปรับความคิด ความเชื่อใหม่ตั้งแต่ระดับครอบครัว
ผู้บริหารการศึกษา รวมถึงการจัดระบบการศึกษา
เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของเด็กเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และหากไม่มีการปรับปรุงวิสัยทัศน์ของคนในประเทศ
รวมถึงการร่วมมือกันอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วน แน่นอนว่าประ
เทศไทยอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์และพลเมืองในอนาคตมากขึ้น
เพราะเด็กในวันนี้ที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ไม่มีสมรรถภาพมากพอที่จะใช้ชีวิต
และเป็นคนที่มีคุณภาพพอที่จะดูแลสังคมในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้
ผู้ปกครองช่วยเหลือหรือพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร ?
เมื่อเห็นชัดแล้วว่าปัญหาของการพัฒนาเด็กมีสาเหตุเริ่มมาจากผู้ใหญ่
ซึ่งผู้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของเด็กมากที่สุดคือ ผู้ปก ครองและครู
เป็นวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนสำคัญที่จะส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้เด็กได้ดีที่สุด
นอกจากที่ผู้ใหญ่ในสังคม ไทยจะต้องมีการปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กแล้ว
พวกเขายังมีส่วนช่วยในการพัฒนาของเด็กได้อีกหลายประการ
พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนช่วยเพิ่มทักษะและการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับเด็กได้ดังนี้
ปล่อยให้ลูกเล่น การเล่นทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
5 มากขึ้น แม้ว่ากิจกรรมบางอย่างอาจดูเลอะเทอะ เช่น
การเล่นทรายหรือการวาดภาพ แต่จะทำให้เขาได้พัฒนากล้ามเนื้อ
รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับการสัมผัส การแยกเนื้อละ เอียด เนื้อหยาบของทราย การสังเกต
และที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงกิจกรรมกลางแจ้งที่อาจต้องอยู่กลางแดดลม
ที่พ่อแม่หลายคนมักเกรงว่าลูกอาจบาดเจ็บหรือป่วยได้ เช่น การขี่จักรยาน
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
กลับเป็นกิจกรรมที่จะทำให้เด็กได้ฝึกทักษะทั้งทางการมองเห็น การคิดตัดสินใจ
และยังทำให้พวกเขาได้ฝึกการทรงตัวอีกด้วย ในญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับกิจกรรมการขี่จักรยานของเด็กเป็นอย่างมาก
เพราะการขี่จักรยานทำให้เด็กได้พัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆกัน
และยังได้ฝึกให้สมองและใยประสาทจะได้ทำงานร่วมกัน
เมื่อได้ฝึกคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาและลงมือทำ
ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่น เพราะนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้ว
เด็กยังจะได้เรียนรู้มากกว่าการนั่งเขียนหนังสือหรือเรียนวิชาการมาก
สื่อสารกับลูก พ่อแม่หลายๆ คนอาจคิดว่า เด็กในวัยนี้เป็นเด็กอยู่เสมอ
จึงพูดให้เด็กๆฟังอยู่ฝ่ายเดียว
แต่จริงๆแล้วเด็กวัยนี้ควรเริ่มฝึกเรื่องการสื่อสาร และพ่อแม่ก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ลูกได้พัฒนาในส่วนนี้ได้มาก
โดยเริ่มแรกพ่อแม่ควรหัดให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อให้ลูกได้ฝึกประสาทการฟัง
การแยกแยะเสียง สอนให้ลูกมีสติมีสมาธิในการฟัง
โดยการเงียบและตั้งใจฟังสิ่งที่ได้ยิน
อาจเริ่มจากการสอนให้ลูกฟังพ่อแม่พูดให้จบก่อน แล้วลูกถึงจะพูดต่อ
หรือการสอนให้ลูกฟังเพลงเพียงอย่างเดียว โดยไม่ทำกิจกรรมอื่นควบคู่ไปด้วย
นอกจากนี้เมื่อลูกสามารถฟังได้แล้ว พ่อแม่ควรให้โอกาสลูกได้พูด
สื่อความรู้สึกของตนเองออกมาด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยสอนการสื่อสารของลูก
ที่จะพยายามบอกให้พ่อแม่ทราบถึงความรู้สึกและความต้องการของตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้นเด็กยังได้เรียนรู้มารยาทและจริยธรรมเบื้องต้น
ซึ่งคือเรื่องของการให้เกียรติกันในการรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
และผู้อื่นก็ต้องฟังเราพูด สุดท้ายพ่อแม่ควรตั้งคำถามเพิ่มเติมให้แก่ลูก
เพื่อฝึกทักษะทางการคิดวิเคราะห์ เช่น เมื่อฟังเพลงจบแล้ว
นอกจากที่พ่อแม่จะถามลูกว่าชอบหรือไม่ชอบเพลงนี้ พ่อแม่อาจถามความคิดเห็น
หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับเพลงนั้นเพิ่มเติมด้วยก็ได้
จัดระบบชีวิตลูก วัยเด็กไม่ใช่แค่เล่นหรือเรียนเพียงอย่างเดียว
แต่พวกเขาจะต้องเริ่มหัดที่จะใช้ชีวิตอย่างมีระบบระ เบียบบ้าง เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่จะจัดการชีวิตอย่างเป็นขั้นตอน
รวมไปถึงการเริ่มฝึกเรื่องระเบียบวินัย การเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎ
ซึ่งต่อไปจะทำให้พวกเขาสามารถทำตามกฎหมายและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ เช่น
พ่อแม่กำหนดให้ลูกตื่นนอนและเข้านอนเป็นเวลาในวันที่จะต้องไปโรงเรียน
ควบคุมการใช้สื่อและเทคโนโลยีของลูก
ขณะนี้การสื่อสารต่างๆรวมไปถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย
ทั้งโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และอินเตอร์เน็ต
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ที่ปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานอุป กรณ์เหล่านี้ได้แล้ว ดังนั้นพ่อแม่ควรเลือกสิ่งที่จะให้ลูกใช้
เช่น มีการเลือกเกมที่เหมาะสมกับการพัฒนาสมองและทักษะของลูก
มีการจำกัดการใช้ไม่ให้มากเกินไป เพื่อไม่ให้มีปัญหากับสายตา และที่สำคัญที่สุดคือ
พ่อแม่เองก็จะต้องเป็นตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ด้วย
โดยไม่ยึดติดกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีเหล่านี้ตลอดเวลา เช่น
ไม่เล่นหรือใช้งานในเวลาทานข้าวหรืออยู่กับครอบครัว เป็นต้น
สอนวัฒนธรรมและจิตสำนึกให้กับลูก สิ่งสำคัญที่เด็กยุคใหม่ขาดไปคือ
เรื่องของวัฒนธรรม มารยาทสังคม และจิต สำนึก
แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้ติดตัวของพวกเขาไปเมื่อโตขึ้น
ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรเพิก เฉยต่อสิ่งเหล่านี้ เช่น หากลูกทำอะไรผิด
ควรมีการตักเตือนและบอกเหตุผล เพื่อให้ลูกเข้าใจและไม่ทำอย่างนั้นอีก
พาลูกไปวัดหรือสถานที่ประวัติศาสตร์บ้าง
เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้วัฒนธรรมของไทยที่ดีงาม เป็นต้น โดยอาจเริ่มจากเรื่องเล็กน้อย
เช่น การเข้าแถว การไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น การขอโทษ หรือการขอบคุณ
เพื่อเป็นพื้นฐานให้เขาเรียนรู้ต่อไปในอนาคต
เนื่องจากเมื่อโตขึ้นพวกเขาจะต้องเข้าไปอยู่ร่วมกับคนในสังคม
การเริ่มปลูกจิตสำนึกในขณะที่พวกเขากำลังเรียนรู้นั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พวกเขาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต
ให้ลูกใช้ชีวิต
เมื่อเด็กๆโตขึ้นพวกเขาจะต้องออกไปใช้ชีวิตและมีชีวิตเป็นของตนเอง
ดังนั้นพวกเขาควรจะต้องได้รับการฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง ได้ลองตัดสินใจอะไรเองบ้าง
เพราะจะทำให้พวกเขาได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการตัด สินใจ
ซึ่งอาจนำไปสู่ทักษะการเป็นผู้นำหรือทักษะอื่นๆอีก ซึ่งอาจจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ
เช่น การเก็บของเล่น การเลือกสีทิ่ชอบ การเล่นกีฬาแล้วแพ้บ้างชนะบ้าง
หรือการอดทนรอสิ่งที่พวกเขาต้องการ และให้ลองคิดหาวิธีการผ่านอุปสรรคบาง
อย่างเองบ้าง หลายครั้งพ่อแม่อาจไม่ใจเย็นพอที่จะรอลูกคิดหรือตัดสินใจ
จึงรีบทำให้ทุกอย่าง แต่พ่อแม่อาจลืมไปว่านั่นเป็นการจำกัดการเรียนรู้ของลูก
ทำให้ลูกทำอะไรไม่เป็น หรือเป็นช้ากว่าเด็กคนอื่น
หรือได้พัฒนาทักษะบางด้านน้อยกว่าที่ควร
เพราะการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จะเกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้ใช้ความคิดในการตัดสินใจ
อ้างอิงจาก : ผู้เขียน: มนทกานติ์ รอดคล้าย
และตรวจสอบโดย: รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาภรณ์ มานะจุติ
การศึกษาในศตวรรษที่ 21(3R x 7C)
3R7C
3R
ได้แก่
o Reading (อ่านออก) ,
o (W)Riting (เขียนได้)
o (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C
ได้แก่
o Critical thinking &
problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และทักษะในการแก้ปัญหา)
o Creativity & innovation
(ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
o Cross-cultural understanding
(ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
o Collaboration, teamwork
& leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม
และภาวะผู้นำ)
o Communications, information
& media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ
และรู้เท่าทันสื่อ)
o Computing & ICT literacy
(ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
o Career & learning skills
(ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น
“ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่
20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้
( knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ ( learning
person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้
และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ ( learning
skills)
ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว
เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์
และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน ” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator
ของการเรียนของศิษย์ ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ
PBL คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน
หันมาเน้นเรียน เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู